Trip Loei

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี


        วิชาชีพด้านการสอบบัญชีจาก จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547 จึงเป็นผลให้ต้องยกเลิกพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว คือ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ที่ทำหน้าที่ทดสอบขึ้นทะเบียน ควบคุมจรรยาบรรณผู้สอบบัญชี ต้องยกเลิกไปด้วย ดังนั้น งานทุกด้านที่เกี่ยวกับผู้สอบบัญชีตามกฎหมายเดิมจึงเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้สภาวิชาชีพบัญชีตามบทบัญญัติของกฎหมายใหม่

        การประกอบวิชาชีพสอบบัญชีภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ได้ จะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี และได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งใบอนุญาตที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีนั้นจะไม่มีอายุ แต่ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปีปีละ 1,000 บาท โดยเริ่มนับจากวันที่สภาวิชาชีพบัญชีออกใบอนุญาตให้ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง

         สำหรับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 บังคับใช้ ให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อไปจนกว่าใบอนุญาตเดิมจะสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอน

        นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชี นิติบุคคลที่ให้บริการด้านสอบบัญชี หรือด้านการทำบัญชี จะต้อง จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีโดยมีเงื่อนไขว่าต้องจัดให้มีหลักประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง และกรณีที่เป็นการให้บริการ การสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลได้ต้องผู้สอบบัญชีรับอนุญาตด้วย การกำหนดหลักประกันนั้นกฎหมายให้คำนึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคลนั้นเป็นหลักและให้คำนึงถึงความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสภาวิชาชีพบัญชีมาพิจารณา ประกอบก่อนที่จะออกกฎกระทรวง

        กรณีผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ให้นิติบุคคลร่วมรับผิดชอบโดยการเป็นลูกหนี้ร่วม หากไม่สามารถชำระค่าเสียหายให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนร่วมรับผิดจนครบจำนวนเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือกระทำผิดที่ต้องรับผิด

นิยามอาชีพ
        ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนของจำนวนเงินที่บันทึกลงในสมุดบัญชี รวมทั้งเอกสารทางการเงินของสถานประกอบการ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล : ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดและการโอนรายการ ต่าง ๆ เป็นไปโดยถูกต้อง ; ตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร จำนวนเงินที่รับมาและ จ่ายไป ตลอดจนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ; ตรวจสอบ ความถูกต้องครบถ้วนของใบสำคัญคู่จ่ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบของหน่วยงานและระเบียบของราชการ มติคณะรัฐมนตรี และตามเงื่อนไขเงื่อนเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ;ตรวจสอบและให้คำแนะนำการดำเนินการด้านภาษี ;เสนอรายงานผลการตรวจสอบและเสนอแนะการจัดทำเอกสารทางการเงินต่าง ๆ
ลักษณะของงานที่ทำ
        ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของจำนวนเงินที่บันทึกลงในสมุดบัญชี รวมทั้งเอกสารทางการเงินของสถานประกอบกิจการ สถาบัน เอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล ตรวจรายการต่างๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี เช่น บัญชีประจำวัน หรือ บัญชีรายวันเพื่อให้เชื่อแน่ว่าการบันทึกจำนวนเงินและรายการต่างๆ ลงในสมุดบัญชีเป็นไปโดยถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนรายการต่างๆ จากบัญชีรายวันไปลงบัญชีแยกประเภท นับเงินสด และตรวจสอบยอดเงินในธนาคาร ตรวจสอบจำนวนเงินที่รับมา และจ่ายไปตลอดจนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ตรวจดูเช็คเงินสด เพื่อสอบยอดเงิน ลายเซ็น การขีดฆ่า และวันที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีเงินสด สอบรายการในบัญชีรายวัน และบัญชีแยกประเภทกับใบเสร็จจ่ายเงินสด ใบเสร็จซื้อของ และใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่าย ตรวจสอบรายการสิ่งของ ตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงิน อาจทำเอกสารทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น เอกสารแสดงกำไรและขาดทุนและงบดุล อาจเตรียมรายงานแสดงรายการต่างๆ โดยละเอียด เช่น ต้นทุน สินทรัพย์ หนี้สิน ปริมาณการขายกำไรสุทธิ และค่าเสื่อม อาจควบคุมพนักงานบัญชีให้สอบบัญชีเป็นประจำ อาจคิดค้นและวางระบบกับวิธีการบัญชีขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะสถานประกอบกิจการ ซึ่งไม่อาจนำระบบการบัญชีมาตรฐานมาใช้ได้
สภาพการจ้างงาน
        ผู้ประกอบอาชีพนี้ที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานผู้ตรวจสอบบัญชี เนื่องจากผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้จะต้องมีประสบการณ์ในงานบัญชีมาบ้างจึงจะทำงานในตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) กำหนดไว้มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ดังนั้นค่าตอบแทนจึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมี ดังนี้
วุฒิการศึกษา รายได้ (โดยเฉลี่ย)
รับราชการ งานเอกชน
ปริญญาตรี 7,500 12,000 – 18,000
ปริญญาโท 9,040 18,000 – 25,000
        นอกจากค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนแล้วในภาครัฐจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการส่วนในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่าง ๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ มีชั่วโมงทำงานโดยปกติวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง อาจต้องทำงานล่วงเวลา เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตรวจสอบบัญชีให้เสร็จตามกำหนดเวลา และอาจต้องทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด เมื่อมีความจำเป็น
สภาพการทำงาน
        ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลข หรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการและการทำบัญชีในรูปต่างๆ ในการ ตรวจสอบบัญชี แต่ละครั้งจะต้องทำงานอยู่กับ เอกสารทางบัญชี อาจจะต้องค้น สลิป รายการบัญชีที่สงสัย หรือมีปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจดู รายการที่น่าสงสัยหรือมีข้อผิดพลาด ผู้ตรวจสอบบัญชี จาก บริษัทรับตรวจบัญชี มีหน้าที่ ตรวจสอบบัญชี บริษัทลูกค้าบางรายอาจจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในห้องหรือบริเวณที่ลูกค้าจัดเตรียมไว้ให้อาจจะต้องทำงานเป็นเวลา 1- 4 สัปดาห์ในบริษัทของลูกค้าขึ้นอยู่กับลักษณะงานของบริษัทนั้น บางครั้งต้องทำการตรวจสอบเอกสารทางบัญชี ซึ่งต้องตรวจเอกสารทำรายการบัญชีที่ผ่านมาในช่วง 1 ปี ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยใน การตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี จากบริษัท รับตรวจสอบบัญชี มักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ เพื่อใช้ช่วยในการทำงาน เช่น การบันทึกบัญชี ลูกค้าเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งอาจใช้โปรแกรมสำหรับการตรวจสอบหรือการเขียน รายงานการตรวจสอบบัญชี
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
        - ต้องมีคุณวุฒิ ปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
        - เมื่อทำงานจนมีความพร้อม และคุณสมบัติตามที่ กบช. กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ได้
        - มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน
        - มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ
        - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
        - รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนา วิชาชีพ และสังคม
        - สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรมระบบงานบัญชี
        - มีความรู้ภาษาอังกฤษตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย
        ผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชีควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ และสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี หรือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันราชภัฎ หรือ สถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี หรือสำเร็จการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แล้วศึกษาต่อระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาการบัญชี วิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหรือสถาบันราชภัฎ และศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี และรับโอนหน่วยกิตของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปวส. เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชี ที่ต้องการเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องฝึกงานเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง โดยต้องแจ้ง การฝึกหัดงานสอบบัญชี ต่อสำนักงาน ก.บช. ก่อน เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกำหนดของ ก.บช. สามารถเข้ารับการทดสอบเมื่อผ่านการทดสอบก็จะได้รับใบอนุญาตเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของ ก.บช.ผู้ที่มีความสามารถในการเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ สถาบันเอกชน หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากการดำเนินธุรกิจเกือบทุกด้านจำเป็นต้องมี การตรวจสอบบัญชี ขององค์กร เพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นแรกอาจจะเป็น ผู้ทำบัญชี หรือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน และเลื่อนขั้นมาเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน และสามารถสอบผ่านตามกฎเกณฑ์ของ ก.บช. ก็จะเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สามารถลงนามรับรองการตรวจบัญชีของหน่วยงานได้

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

RD Call Center นักบัญชีกับกรมสรรพากร


 งานบัญชี
นักบัญชีกับสรรพากรเป็นของคู่กัน นักบัญชีจะดำเนินการเกี่ยวกับภาษีอากร ก็จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องติดต่อสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ซึ่งในปัจจุบัน กรมสรรพากรบ้านเราก้าวหน้าไปมาก มีวิธีการและช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนได้เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

ช่องทางที่สะดวกที่สุดในการติดต่อกับสรรพากรคือผ่านทาง Call Center 0 2272 8000 ซึ่งให้บริการข้อมูลสรรพากร ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 18.00 น. ทุกวันทำการ เว้นวันหยุดราชการ แต่ถึงแม้จะเป็นวันหยุด คุณก็ยังสามารถรับฟังข้อมูลอัตโนมัติ รับเอกสารทางโทรสาร และข่าวประชาสัมพันธ์ ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้บริการ 120 คู่สาย และมีทางเลือกในการใช้บริการที่หลากหลาย
1. รับฟังข้อมูลอัตโนมัติ ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากรทุกประเภท การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต และการติดตามผล การขอคืนเงินภาษีอากร

2. รับเอกสารทางโทรสาร ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และการแก้ไข การขอจดทะเบียน และการแจ้งเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ การยื่นแบบและชำระภาษี อัตราภาษีเงินได้ ค่าปรับอาญา/เบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีอากร เกร็ดความรู้ กฎหมายออกใหม่ และสถานที่ตั้ง/หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานบริการภาษีในกรุงเทพมหานคร เพียงคุณโทรจากเครื่องโทรสารก็สามารถรับข้อมูลเอกสารที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย
3. ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นการแจ้งข่าวสารใหม่ ๆ ของกรมสรรพากร ซึ่งมีอยู่ 3 เมนูให้เลือกทำรายการ โดยให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับคู่มือการใช้บริการสรรพากร Call Center กฎหมายออกใหม่ และการชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

4. ติดต่อเจ้าหน้าที่ ให้บริการสอบถามกฎหมายภาษี การยื่นแบบ การขอคืนภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สถานที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ การจัดสัมมนาภาษี และรับเรื่องร้องเรียน

5. บริการ Web Collaboration เป็นการให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ ด้วยการมองเห็นหน้าจอเดียวกัน ระหว่างผู้ใช้บริการกับเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ใช้บริการขณะเกิดปัญหา จากการใช้บริการต่าง ๆ บนเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยใช้บริการนี้ได้ทางเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => สรรพากร call center => ติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่าน Web Collaboration หรือของหน้าจอต่าง ๆ บนเว็บไซต์กรมสรรพากร ที่มีคำว่า Web Collaboration สำหรับบริการนี้จะต้องโทรเข้ามารับบริการที่ สรรพากร call center 0 2272 8000 ก่อนเสมอ

6. บริการ Web Chat เป็นการให้บริการสนทนาระหว่างผู้ใช้บริการกับเจ้าหน้าที่บนเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยให้บริการสอบถามเฉพาะภาษีอากร และข้อมูลสรรพากรเท่านั้น สามารถใช้บริการนี้ได้ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th => สรรพากร call center => ติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่าน Web Chat
7. บริการ Contact us เป็นการให้บริการข้อมูลด้วยระบบถาม - ตอบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยผู้ใช้บริการ สามารถเข้ามาตรวจสอบสถานะคำถาม ได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ได้รับคำถามด้วยหมายเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้บริการนี้ได้ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th = > ติดต่อกรมสรรพากร (Contact us)

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม คุณสามารถศึกษาวิธีการใช้บริการต่าง ๆ ได้จาก คู่มือการใช้บริการทางเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => สรรพากร call center => คู่มือการใช้บริการ

เห็นไหมว่า เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ทันสมัยไฮเทคไปหมด บริการใหม่ ๆ ก็ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้น ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ทั้งยังช่วยให้นักบัญชีอย่างคุณ สามารถเข้าถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
 

สอบบัญชีรับอนุญาต กับ หลักการเตรียมตัว


การเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ควรต้องรู้ข้อบังคับของ ก.บช.ที่กำหนดไว้ ซึ่งมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เป็นผู้กำกับดูแลออกข้อบังคับวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นผู้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษาวิชาการบัญชีซึ่งทาง ก.บช.เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
2. มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์แล้ว
3. มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติของต่างประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
7. ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี
8. เคยปฎิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้วโดย ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ คือจะต้อง


(1) ฝึกหัดงานสอบบัญชีเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์  และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง จะกระทำในระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือหลังจากได้รับปริญญาแล้วก็ได้ แต่ถ้าฝึกหัดงานในระหว่างการศึกษาจะเริ่มฝึกหัดงานหลังจากได้สอบผ่านวิชาการบัญชีตามที่ ก.บช. กำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบบัญชีไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15หน่วยกิต

วิชาการบัญชีที่ ก.บช. กำหนด ต้องศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีเพื่อเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรวม 7 รายวิชา มีดังนี้
- การบัญชีขั้นต้น/ชั้นต้นและการบัญชีขั้นกลาง/ชั้นกลาง 3 รายวิชา
- การบัญชีขั้นสูง/ชั้นสูง 1 รายวิชา
- การสอบบัญชี 1 รายวิชา
- การบัญชีต้นทุน 1 รายวิชา
- การภาษีอากร 1 รายวิชา

ผู้ที่จะฝึกหัดงานสอบบัญชีจะต้องปฏิบัติ 
ดังนี้
- หาสำนักงานสอบบัญชีที่จะเข้าไปฝึกหัดงาน และควรตรวจสอบกับสำนักงาน ก.บช. ด้วยว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ท่านเข้าฝึกหัดงานด้วยนั้นยังเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ให้ยื่นคำข้อแจ้งการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 2 ในทันทีที่เริ่มฝึกหัดงาน เพราะจะเริ่มนับระยะเวลา และจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานในวันที่ยื่นแบบ ก.บช. 2
- ทุกรอบ 12 เดือนที่ฝึกหัดงานจะต้องรายงานผลการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 3 เช่น ฝึกหัดงานวันที่ 15 ก.ย.43เมื่อถึงวันที่ 14 ก.ย.44 จะต้องรายงานผลการฝึกงานตามแบบ ก.บช.3
- ในระหว่างฝึกหัดงาน ถ้ามีเหตุใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ท่านต้องเปลี่ยนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองการฝึกหัดงานของท่าน จะต้องแจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 6 ภายใน 1 เดือน ถ้าแจ้งเลยกว่า 1 เดือน จะต้องเริ่มนับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานใหม่
- เมื่อฝึกหัดงานครบ 3 ปี และได้จำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง ให้แจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. เพื่อปิดการฝึกหัดงานตามแบบ ก.บช. 7 
(2) ผ่านการทดสอบของคณะกรรมการทดสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี วิชาที่ทดสอบมี 5 วิชา คือ
- การบัญชี
- การสอบบัญชี 1
- การสอบบัญชี 2
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำและตรวจสอบบัญชี


โดยจะต้องสอบผ่านให้ได้ทั้ง 5 วิชา โดยมีคะแนนในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่า 60 คะแนน ข้อสอบจะเป็นปรนัย 40 ข้อ (40 คะแนน) อัตนัย 3 ข้อ (60 คะแนน) เวลาสอบ 3 ชั่วโมงต่อ 1 วิชา วิชาที่สอบผ่านแล้ว สามารถเก็บผลคะแนนไว้ได้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบ
ก.บช. จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือ เดือนมิถุนายน กันยายน และธันวาคม ซึ่งจะสอบวันอาทิตย์ จะเปิดรับสมัครสอบก่อนถึงวันสอบ 2เดือน โดยเดือนแรกจะเปิดรับสมัคร ส่วนเดือนที่สอง ก.บช. จะใช้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่จะมีสิทธิเข้าสอบ
ผู้ที่ผ่านการฝึกหัดงานครบถ้วนตามเงื่อนไข และผ่านการทดสอบครบทั้ง 5 วิชา ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อสำนักงาน ก.บช. และ ก.บช. ออกใบอนุญาต คุณก็จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ในเวลาต่อมา

ที่มา : pattanakit.net


วิธีจัดทำกระดาษทำการสำหรับผู้สอบบัญชี

กระดาษทำการ หมายถึง หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการจัดทำรายงาน การตรวจสอบ และรับรองบัญชี
การจัดทำกระดาษทำการ
กระดาษทำการไม่มีขอบเขต รูปแบบ และเนื้อหาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และเนื้อหาในเรื่องที่ตรวจสอบ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจ เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้สอบบัญชีภาษีอากรเอง แต่อย่างไรก็ตาม ขอบเขต รูปแบบ และเนื้อหาของกระดาษทำการควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. ขอบเขตของกระดาษทำการ
การกำหนดขอบเขตของกระดาษทำการ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องพิจารณาถึงธุรกิจที่ตรวจสอบ และมาตรฐานการปฏิบัติงานที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยจะต้องรวบรวมสิ่งที่มีความจำเป็น และเหมาะสม ในการตรวจสอบบันทึกไว้ในกระดาษทำการ

2. รูปแบบและเนื้อหาของกระดาษทำการ
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องออกแบบ และจัดทำกระดาษทำการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และความต้องการของตน ในการตรวจสอบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการตรวจสอบ และรับรองบัญชีของแต่ละกิจการ ซึ่งผู้สอบบัญชีภาษีอากร อาจใช้กระดาษทำการที่แต่ละสำนักงาน จัดทำไว้เป็นรูปแบบมาตรฐานก็ได้ ความแตกต่างของรูปแบบ และเนื้อหาของกระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดทำนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะ และความซับซ้อนของธุรกิจ ลักษณะ และสภาพของระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายในของกิจการ การใช้กระดาษทำการ เพื่อประโยชน์ในการสั่งการ การควบคุมดูแล และ การสอบทานงานที่ปฏิบัติ โดยผู้ช่วยผู้สอบบัญชีภาษีอากร

3. สาระสำคัญที่ควรปรากฏในกระดาษทำการ
1. กระดาษทำการควรแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้จัดทำแนวทางการสอบบัญชีอย่างระมัดระวัง และรอบคอบ และได้ควบคุมการปฏิบัติงาน ของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ถ้ามี) โดยใกล้ชิด
2. กระดาษทำการต้องแสดงให้เห็นว่า ข้อมูล และตัวเลขในงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรรับรองถูกต้อง ตรงตามบันทึก และหลักฐานทางการบัญชี ของกิจการที่ตรวจสอบ
3. กระดาษทำการต้องแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีภาษีอากร และผู้ช่วยผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามแนวทางการสอบบัญชี ที่ได้กำหนดขึ้นโดยถูกต้อง และครบถ้วน
4. กระดาษทำการต้องแสดงข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชี โดยจะต้องแสดงถึงการทดสอบความถูกต้องของรายการบัญชี การตรวจสอบความถูกต้อง ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญทางด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร การปรับปรุงกำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิทางบัญชี เป็นกำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิทางภาษี และการตรวจสอบรายการในแบบแจ้งข้อความ ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) รวมถึงการแจ้งปริมาณ และขอบเขตการตรวจสอบแต่ละด้าน ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรมิได้กำหนดไว้ในแนวทางการสอบบัญชี
5. กระดาษทำการต้องแสดงผลการตรวจสอบในแต่ละเรื่อง รวมถึงข้อบกพร่องหรือสิ่งผิดปกติอันมีสาระสำคัญที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้ ตรวจพบ การวินิจฉัย และข้อสรุปเกี่ยวกับข้อบกพร่อง หรือสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบ คำชี้แจงของผู้บริหารของกิจการในเรื่องดังกล่าว และข้อเสนอแนะที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้ให้แก่กิจการ ตลอดจนการแก้ไขข้อบกพร่องหรือสิ่งปกตินั้นว่าได้ดำเนินการแล้วหรือไม่อย่าง ไร

4. การใช้เครื่องหมายการตรวจสอบ
เครื่องหมายการตรวจสอบ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรกำหนดขึ้นเอง โดยเครื่องหมายดังกล่าวจะมีรูปร่าง และความหมายที่ต่างกัน ซึ่งรูปแบบของสัญลักษณ์ จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะกำหนด การใช้ครื่องหมายการตรวจสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้ตรวจสอบข้อมูลในกระดาษทำการ ด้วยวิธีการตรวจสอบใด ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องใส่เครื่องหมายการตรวจสอบ กำกับรายการที่ทำการตรวจสอบ และอธิบายความหมายของเครื่องหมายการตรวจสอบนั้น ไว้ในกระดาษทำการด้วย และเพื่อสะดวกในการสอบทานการตรวจสอบ เครื่องหมายการตรวจสอบจึงควรแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด ด้วยการใช้ดินสอสีต่าง ๆ ทำเครื่องหมาย

5. ข้อปฏิบัติในการจัดทำกระดาษทำการ
1. จัดทำสารบาญกระดาษทำการที่แสดงถึงเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่ในกระดาษทำการ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของกระดาษทำการทั้งหมด
2. กำหนดรหัสอ้างอิงของกระดาษทำการ เพื่อใช้ในการอ้างอิงระหว่างกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกัน
3. ใน กรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้หลักฐานจากการสอบถามจากบุคลากรของกิจการ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องระบุชื่อของบุคลากรพร้อมตำแหน่งงาน เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงในภายหลัง
4. กระดาษ ทำการเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชี หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบ จากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเก็บรักษากระดาษทำการให้ปลอดภัยจากการถูกแก้ไข สูญหาย หรือการนำข้อมูล ที่อาจเป็นความลับของกิจการไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น
กรรมสิทธิ์ของกระดาษทำการ
กระดาษทำการถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งผู้สอบบัญชีภาษีอากร จะต้องนำมาส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ การปฏิบัติงานของกรมสรรพากร เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชีของตน

พนักงานบัญชี-Accountants

นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานพนักงานบัญชี-Accountants ทำงานเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมรายการรายรับ และรายจ่ายของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดทำเป็นรายงานตามระบบ และระเบียบของการทำบัญชี จัดทำบัญชีด้วยตนเองหรือร่วมทำงานกับผู้อื่น กำกับดูแลการทำงานบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง และนำเสนอผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามลำดับ อาจทำงบดุลประจำปี อาจทำหน้าที่ในการรับ และการจ่ายเงินตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะของงานที่ทำ
พนักงานบัญชี ทำงานบันทึกข้อมูลการเงินขององค์การอย่างสมบูรณ์ตามระบบของการบัญชี และเป็นระเบียบแบบแผน เช่น บัญชีรายรับ หรือบัญชีรายจ่าย เป็นต้น ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายเงิน การรับเงินและธุรกิจการเงินอื่นๆ และลงบัญชีแยกประเภทตรวจสอบการลงบัญชี ทำการคำนวณ และรวมยอดเงินเท่าที่จำเป็น
ทำงบดุล และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นประจำ เพื่อแสดงรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับและรายจ่าย กำไรหรือขาดทุน และเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังดำเนินงานอยู่ คำนวณและจ่ายเงินค่าจ้าง ทำรายงานแสดงฐานะทางการเงิน ทำรายงานแสดงฐานะทางการบัญชีให้แก่ลูกค้า และปฏิบัติงานต่างๆ เกี่ยวกับการทำบัญชีทำบันทึกการเงินโดยใช้ เครื่องทำบัญชี ตรวจสอบการลงบัญชี ี้
รวบรวมรายงานเสนอตามระยะที่กำหนดเป็นประจำ ปิดงบการเงินประจำเดือน ทำหน้าที่ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ บุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชีและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย จัดเตรียมงบทดลอง บันทึกรายการรับจ่ายประจำวัน
จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อ และขายพร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อนำเสนอกรมสรรพากร ทุกเดือน จัดทำรายงานภาษีเงินได้ของบริษัทเพื่อนำเสนอกรมสรรพากรทุกสิ้นปี
สภาพการจ้างงาน
ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานพนักงานบัญชี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมีดังนี้

    วุฒิการศึกษา                  เงินเดือน
                                  ราชการ       เอกชน
           ปวส.                5,600          6,000
      ปริญญาตรี            6,500          9,500
สภาพการทำงาน
พนักงานบัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลขหรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็ว และ มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบ ในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย
ผู้ที่จะประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง
โอกาสในการมีงานทำ
ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องมีพนักงานบัญชีทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาชีพพนักงานบัญชียัง คงเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว
ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชีสามารถที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ และเอกชน นอกจากนี้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้ว พนักงานบัญชียังอาจทำงานอย่างอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่น ทำงานในหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณการเงิน งานธนาคาร บริษัทประกันภัย ประกอบอาชีพอิสระโดยเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆสำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมามาก เป็นต้น

การจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องทำอย่างไร

 
                                          วุฒิการศึกษา
                                          วิชาและขอบเขตวิชาที่ทดสอบ 
                                          วิธีการยื่นคำขอเข้ารับการทดสอบ
                                          การขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร

                                เมื่อเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้ว มีสิทธิและหน้าที่อย่างไร

                                          สิทธิของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
                                          หน้าที่ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
                                               การยื่นแบบ บภ. 07/08
                                               การปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี
                                               การทดสอบรายการตามแบบแจ้งข้อความฯ
                                               การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
                                               การรักษาจรรยาบรรณ
                                               การอบรม 9 ชั่วโมงต่อปี
                                               การต่ออายุใบอนุญาตผู้สอบบัญชีภาษีอากร

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทบาทของนักบัญชียุคใหม่


 
ดย ศิริรัตน์ โชติเวชการ
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิตเครดิต
ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัวแต่ในวันนี้เมื่อรูปแบบของการทำบัญชีได้เปลี่ยนไปสู่การบัญชีเพื่อการจัดการ ก็เลยส่งผลให้นักบัญชีมีพัฒนาการไปไกลจากจุดเดิมเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของนักบัญชี ในสหรัฐอเมริกาและพบว่ามีการปรับตัวในด้านต่างๆ มากมายจึงนำมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้
ด้านภาพพจน์และการเป็นที่ยอมรับ เขา บอกว่าคนในองค์กรให้การยอมรับนักบัญชีมากขึ้น เพราะสามารถ
ช่วยพัฒนาระบบไอทีขององค์กรและสามารถให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจการสื่อสารกับแผนกอื่นปัจจุบันนักบัญชีมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้คนในแผนกอื่นมากขึ้น
การพัฒนาด้านบทบาทการทำงานนัก บัญชีได้เปลี่ยนบทบาทจากการทำงานอยู่แต่ในแผนกบัญชี
ไปสู่การพัฒนาเป็นผู้บริหารที่ช่วยทางด้านการจัดการได้มากขึ้น ความรู้สึก ต่อบทบาทของตนเอง นักบัญชีพอใจที่จะได้รับผิดชอบทั้งด้านบัญชีและการเงิน และอยากให้ผู้อื่นมองว่าตนเองเป็นนักการเงิน มากกว่า  เพราะดูทันสมัยดีความรู้พิเศษนอกเหนือจากบัญชี เมื่อถูก ถามว่านอกเหนือจากความรู้ในสายงานโดยตรงแล้วเขาคิดว่าควรเสริมความรู้ทางด้านใดที่จะทำให้ก้าวหน้าขึ้นคำตอบก็คือ
การสื่อสารกับคนรอบข้าง การทำงานเป็นทีม ความสามารถในการวิเคราะห์ ความแม่นยำในหลักการบัญชี
การคิดแบบนักธุรกิจคุณภาพชีวิต ข้อนี้ยังน่าเป็นห่วง
เพราะผลสำรวจบอกเราว่าเนื่องจากงานบัญชีเป็นงานหนักนักบัญชีจึงมักจะเลือกที่จะจมปลักอยู่กับงาน
มากกว่าการที่จะได้พักผ่อนแบบส่วนตัว
งานประจำวัน จากการสำรวจพบว่า งานประจำวันของนักบัญชีในปัจจุบันได้เข้ามีบทบาทเพิ่มขึ้นในงาน
ด้านต่างๆ ดังนี้ การให้คำปรึกษาภายในองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ ในระยะยาว การจัดการเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ การบัญชีเพื่อการจัดการ การวิเคราะห์การเงินและเศรษฐกิจ ฯลฯและเมื่อถูกถามว่า เขาคิดว่า
อีก 5 ปีข้างหน้างานของเขาจะมีพัฒนาการไปทางใดเพิ่ม ขึ้น คำตอบที่ได้ก็คือการวิเคราะห์ผลกำไรเป็น
รายผลิตภัณฑ์หรือรายลูกค้า
แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นักบัญชีเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้จะเกิดขึ้นในอนาคต จะใช้เวลาไปทางด้านวางแผนและวิเคราะห์มากกว่าการทำรายงาน คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์จะมีบทบาทมาก ขึ้นจะมีบทบาทในการให้คำแนะนำเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจมากขึ้นข้อมูลข้างต้นเป็นบทบาทของนักบัญชี ยุคใหม่
ที่มีพัฒนาการไปจากเดิมมากอย่างน่าสนใจทีเดียวอย่าลืมตัดข้อความนี้ส่งให้นักบัญชีข้างตัวท่านเพื่อเขาจะได้สำรวจตัวเองว่าได้มีการพัฒนาไปอย่างไรบ้างแล้ว