Trip Loei

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณนักบัญชีตามวิถีพุทธ


โอกาสและอนาคตอันสดใสของวิชาชีพบัญชี   ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี (บช..) และจะมีโอกาสโดดเด่นที่จะมีอนาคตสดใสจากการเป็นนักบัญชีมืออาชีพ
1.            มีคุณสมบัติที่สอบเป็น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ได้ทันที (ผู้สอบภาษีอากร 1 คนสามารถสอบเซ็นรับรองงบได้ 300 ราย) ดังนั้นยังมีความต้องการและโอกาสที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีอีกมาก
2.            มีคุณสมบัติเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ได้ หากสอบได้ใบอนุญาต CPA จะสามารถประกอบวิชาชีพอิสระเหมือน นายแพทย์ วิศวกร นักกฎหมาย ฯลฯ
3.            มีอาชีพเป็น ผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต (Certified Internal Auditor : CIA) ได้ หากสอบได้ใบอนุญาต CIA สามารถประกอบอาชีพได้ทั่วโลก
4.            มีอาชีพเป็น ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor : IA) ของบริษัท สถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกระทรวงต่างๆ ได้
5.            มีคุณสมบัติเป็น ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี 2543 ได้ โดยสามารถเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น
ส่วนนักศึกษาที่จบระดับปวส.และปวช. สามารถเป็นผู้ช่วยทำบัญชี(Bookkeeper)

     อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง นักธุรกิจสามารถนำตัวเลขทางบัญชีไปวิเคราะห์ผลการประกอบการ ดูแนวโน้มทางธุรกิจ คาดคะเนการขาย วางเป้าหมายธุรกิจ และการใช้ข้อมูลทางบัญชีวิจัยทางด้านตลาด  ส่วนภาครัฐบาลสามารถนำตัวเลขไปวางแผนด้านงบประมาณ การจัดเก็บภาษี วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ (GDP)ฯลฯ  ดังนั้นอาชีพนักบัญชีก็ไม่ต่างกับอาชีพแพทย์  นักกฎหมาย ที่ต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน

สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคลระดับประเทศได้ออกพระราชบัญญัติ

พุทธศักราช 2547 ว่าด้วย จรรยาบรรณนักบัญชี ที่ดี ดังนี้
1.            มีความซื่อสัตย์ สุจริต
2.            มีความละเอียดรอบคอบ
3.            รักษาความลับทางด้านบัญชีของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4.            ไม่นำเอกสารทางด้านบัญชีไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับอนุญาต

ในเมื่อตัวเลขทางบัญชีมีประโยชน์และมีความสำคัญมากเปรียบเสมือน เข็มทิศทางเศรษฐกิจ ของประเทศ ดังนั้นนักบัญชีเป็นผู้ทำและควบคุมตัวเลขเหล่านั้นจะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของผู้ทำบัญชี
             ความสำคัญของตัวเลขทางบัญชีมีความสำคัญเพียงใด  บริษัท เอ็นรอน จำกัดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาจนบริษัทล้มละลาย เพียงเพราะนักบัญชีตบแต่งตัวเลข  หรือเมื่อเร็วๆนี้บริษัทแก๊สแห่งหนึ่งของเมืองไทยก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันที่พนักบัญชีตบแต่งตัวเลขทางบัญชีหลอกลวงประชาชน เพื่อให้หุ้นดูดีในตลาดหลักทรัพย์จนถูกตรวจสอบ
            ดังนั้นหลักธรรม ความซื่อสัตย์จึงเป็นหนึ่งในเบญจศีล ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด ต่อให้รูปลักษณ์ของกิจการดีขนาดไหนโฆษณาดีอย่างไร  ถ้าพนักงาน
บัญชีปฎิบัติตนไม่ตรงไปตรงมาไม่ตระหนักในคุณธรรมความดีงามตามวิธีพุทธในเรื่องความซื่อสัตย์ เมื่อนั้นจะเป็นเคราะห์ร้ายของกิจการเป็นอย่างยิ่ง ความซื่อสัตย์ของพนักบัญชีจึงเป็นเรื่องที่ต้องยึดถือปฏิบัติตลอดทั่วทั้งกิจการตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด สุภาษิตไทยที่ว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานยังเป็นความจริงที่ไม่มีวันตายไม่ว่าธุรกิจใดๆ ก็ตาม ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีเสมอ  หากหวังจะให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตอย่างมั่นคง
         มนุษย์ทุกคนควรทำงานด้วยความมีสติ มีสมาธิ ตามหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมนุษย์ทุกคนก็ต้องการทำอะไรให้ประสบกับความสำเร็จเสมอ คงไม่มีใครที่อยากจะเห็นผลงานของตนเองล้มเหลว ผิดพลาด  เพราะความผิดพลาดไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ย่อมส่งผลต่อตัวเราแทบทั้งนั้น ไม่มากก็น้อย ผู้บริหารทุกคนย่อมอยากให้ผลงานที่ตนเองรับผิดชอบออกมาดี แต่บางครั้งอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทั้งที่คิดว่าผลงานต่างๆ ที่ผ่านมือของเรานั้น น่าจะดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่เชื่อว่าอาจมีผู้บริหารหลายท่านเคยเป็น นั่นคือ การขาดความละเอียดรอบคอบ ความเลินเล่อประมาทเพราะขาดสติในการทำงาน  
        ชีวิตการทำงานความละเอียดรอบคอบนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะการทำงานทุกคนย่อมหวังให้เกิดผลที่ดีที่สุด ธุรกิจประสบความสำเร็จมากที่สุด การทำงานแบบคิดว่าทุกอย่างน่าจะดีที่สุดโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ความประมาทย่อมอันตรายและหมายถึงโอกาสผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
       การทำงานไม่ควรฝากความหวังไว้ที่คนใดคนหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนควรมีส่วนช่วยกันพิจารณาตรวจทาน ไม่เว้นแม้แต่ผู้บริหาร เพราะหลายตา หลายความคิด ย่อมดีกว่าตาเดียว ความคิดเดียว  เพราะเมื่อหลายคนร่วมกันดู ช่วยกันตรวจทาน ข้อบกพร่องความผิดพลาดต่างๆ ก็ย่อมลดลงไปด้วย เพราะการทำงานไม่ใช่หมายถึง การทำ
อย่างลวกๆ แต่หมายถึง การทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบริษัท เพื่อให้ผลงานที่

ออกมาโดดเด่น ถูกใจลูกค้า ดังนั้น ความละเอียดรอบคอบ จึงเป็นสาระสำคัญที่สุดของการมีสมาธิในการทำงานที่นักบัญชีจะละเลยไม่ได้เลย
           ดั่งพุทธธรรมที่ว่าความประมาทเป็นหนทางแห่งความหายนะ

            ทหารต้องรักษาความลับของกองทัพฉันใด นักบัญชีที่ดีก็ต้อง
รักษาความลับของบริษัทฉันนั้น ไม่ว่าความลับทางความคิด
ความลับทางเอกสาร ความลับตัวเลขทางบัญชี  และไม่นำเอกสารที่
ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือคู่แข่งขันจึงเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง

                              ระบบงานบัญชีของทุกองค์กร ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญยิ่งอีกประ  
                            การหนึ่งของความสำเร็จของการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของ
                            องค์ กร สาระสำคัญที่สุดของงานบัญชี คือ ความละเอียดรอบคอบ ถูก
                            ต้องแม่นยำ ซื่อตรง ชัดเจน โปร่งใส เป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจ เป็น
                            ระเบียบระบบเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานของการบัญชี
นักบัญชีที่ดีต้องยึดถือตามวิถีพุทธ พึงมีคุณสมบัติสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักบัญชีตาม สาระสำคัญดังกล่าว เพื่อจัดทำ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ และรายงานฐานะทางการเงิน และรายละเอียดอื่น ๆ ด้านการบัญชีของ บริษัท องค์กร สถานประกอบการ เยี่ยงนักบัญชีที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถและมีคุณธรรม ในสาขาของตน และเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ซื่อตรง รักษาจรรยาบรรณของนักบัญชีอย่างเที่ยงตรง โดยมีศีล คือประพฤติดีมีความซื่อสัตย์  สมาธิ คือ มีสติทำงานด้วยความรอบคอบ ปัญญา คือ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกรักษาความลับขององค์กรและลูกค้า
           นักบัญชีต้องสร้างความตระหนักคุณความดีในวิชาชีพ โดยยึดหลักศีลคือความซื่อสัตย์ สมาธิคือ ความละเอียด รอบคอบในการทำงาน  และปัญญาคือความมุ่งมั่นดำเนินงานของตนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ก่อความเดือดร้อนไม่เบียดเบียนผู้อื่น  ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักบัญชีที่ดีได้จรรโลงคุณธรรมความดีตามวิถีพุทธแล้ว

อาชีพอิสระนักบัญชี

“นักบัญชี” ถือเป็นอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และร่ำเรียนมาโดยตรง ทำงานในสายงานบัญชี จนมีประสบการณ์มากพอสมควร ผ่านความรับผิดชอบเป็นสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาก่อน จึงจะได้รับการยอมรับให้เป็น “นักบัญชี”

 
“ผู้ทำบัญชี” เป็นวิชาชีพ ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี และเช่นกัน “นักบัญชี” ผู้มีความสารมาถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
 
เมื่อกล่าวถึง “ผู้ทำบัญชี” ก็ต้องกล่าวถึง “ผู้สอบบัญชี” ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสระอีกอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ดังกฏที่ว่า งบการเงินของกิจการหนึ่ง ๆ ผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมิใช่คนเดียวกัน หรือเรียกว่า คนทำไม่ตรวจ คนตรวจก็ไม่ทำบัญชี คล้ายกับอาชีพหมอ ที่ว่า แพทย์เป็นผู้ตรวจแล้วสั่งยา แต่ไม่หยิบยาเอง ส่วนเภสัชกรมีหน้าที่หยิบยา แต่ไม่มีหน้าที่สั่งยาให้คนไข้ หรือยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คืออาชีพวิศวกร กับสถาปัตยกรรม ทั้งสองอาชีพทำหน้าที่คู่ขนานกัน
สำหรับนักบัญชี อย่างน้อย ๆ จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 1 ใบ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น :
 
  • ผู้ทำบัญชี
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ผู้สอบภาษีอากร (Tax Auditor)

อาชีพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี
1.รับทำบัญชี
2.รับตรวจสอบบัญชี
3.รับวางระบบบัญชี
4.รับเขียนโปรแกรมบัญชี
5.ที่ปรึกษาภาษีอากร
6.เป็นวิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี – ภาษีอากร
7.สถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร
8.ผลิต/จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป
ลำดับที่ 1 – 6 จะทำเป็นอาชีพอิสระด้วยตัวเองคนเดียวก็ได้
ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงอาชีพการรับทำบัญชี เพราะเป็นงานอิสระที่นักบัญชีส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการรับทำบัญชี








รูปแบบของธุรกิจรับทำบัญชีนี้ เป็นอย่างไร ?
ท่านสามารถเลือกแบบธุรกิจ ซึ่งแบ่งตามขนาดที่ท่านต้องการ
 
1.One Man Show
นักบัญชีกลุ่มนี้มีจำนวนมาก บางรายรับทำบัญชี บางรายสอนงาน วางระบบ ที่ปรึกษา ตอนเริ่มต้นอาจทำด้วยตัวคนเดียว แล้วค่อย ๆ หาผู้ช่วยเพิ่มขึ้นตามปริมาณงาน แต่บางรายต้องการอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยหรือทีมงาน ข้อดีคือควบคุมคุณภาพได้ที่เราอยากให้เป็น ข้อเสียคือถ้ารับงานมากเกินไปจะทำให้เครียดได้
หากเป็นประเภทรับทำบัญชีส่วนใหญ่เกิดจากในอดีตระหว่างทำงานประจำ รับจ๊อบทำบัญชีให้กับกิจการอื่นเป็นอาชีพเสริม พอมีมากขึ้น ๆ ก็ลาออกเปลี่ยนเอาจ๊อบบัญชีเป็นอาชีพหลัก ที่พบเห็นอีกกลุ่มที่ไม่น้อยเลยเป็นแม่บ้านมีภาระงานในบ้านพอสมควร ไม่อยากออกไปทำงานนอกบ้านจึงรับงานบัญชีมาทำที่บ้าน
 
2.Teamwork
อาจเริ่มต้นจากตัวคนเดียว แล้วหาผู้ช่วย(พนักงานบัญชี) เพิ่ม รวม ๆ ไม่เกิน 10 คน หรือเริ่มต้นจากการชวนเพื่อน 1-2 คน มาทำร่วมเป็นหุ้นส่วนกัน
บางทีได้งานรับวางระบบบัญชี ก็ต้องมีทีมงานที่สามารถเรียกมาช่วยกันได้โดยทันที
 
3.Firm
เมื่อกิจการมีทีมงานมากกว่า 5 คน เจ้าของกิจการจะขยายให้โตขึ้น มีพนักงาน 10 หรือ 20 คน แล้วแต่โอกาสและความต้องการ กิจการขนาดนี้ มี 3 แบบ คือ สำนักงานรับทำบัญชีอย่างเดียว สำนักงานรับตรวจสอบบัญชีอย่างเดียว และสำนักงานที่มีทั้งแผนกทำบัญชีและแผนกตรวจสอบบัญชีอยู่ในองค์กรเดียวกัน และอาจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัด
ด้านรายได้
ขึ้นอยุ่กับความสามารถในการหางาน และทำงาน ปัจจุบันองค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ประมาณ 475,000 ราย หากเราจะขอแบ่งมาทำสัก 10-20 ราย ไม่น่าจะยากเกินกำลัง โดยเฉพาะผู้ที่มีวงพื่อนฝูงและญาติกว้างขวาง
 
รายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการที่เราดูแล หากเป็นรายใหญ่จะมีค่าบริการค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรมีลูกค้าขนาดใหญ่ไว้บ้าง
 
อาชีพนี้จะมีรายได้สม่ำเสมอ หากรู้จักเก็บจะเป็นอาชีพที่มั่นคง แต่ถ้าอยากจะรวยกับอาชีพนี้ ไม่ทราบจะบอกอย่างไรเพราะคำว่า “รวย” ของแต่ละคนพอใจจะรวยไม่เท่ากัน

ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
มีข้อควรคิดถึงคุณสมบัติส่วนตัว และการเตรียมความพร้อม ดังนี้
  1. ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่ามั่นใจเต็มที่แล้วหรือยัง เชื่อมั่นในตัวเองมากแค่ไหน โดยปรึกษาขอความเห็นจากเพื่อนนักบัญชีด้วยกัน หรืออดีตหัวหน้าฝ่ายบัญชีที่เราเคารพศรัทธา
  2. เตรียมเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เคยออกจากบ้านไปที่ทำงานทุกวัน แต่กลับต้องอยู่กับบ้าน เคยมีผู้ร่วมงานคอยเป็นเพื่อนคุย ต่อไปนี้เราจะค่อนข้างเหงา ต้องใช้เวลาในการปรับสภาพความเป็นอยู่ระยะหนึ่ง
  3. ไม่หยุดการเรียนรู้ ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเคิมตลอดเวลา และไม่ลืมที่จะต้องเข้าอบรมวิชาบัญชี-ภาษี ให้ครบ 27 ชั่วโมงทุก ๆ 3 ปี ตามที่สภาวิชาชีพการบัญชีกำหนด
  4. มีที่ปรึกษาส่วนตัว หรือแหล่งที่จะขอคำปรึกษาได้ เพราะไม่มีใครที่พร้อม 100% วิชาการค้นหาได้จากหนังสือ แต่ภาคปฎิบัติต้องอาศัยปรึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์
  5. เวลางาน กับเวลาส่วนตัว ต้องจัดแบ่งให้ลงตัวอย่างเหมาะสม หากแบ่งเวลาให้กับงานน้อยไป หรือผลัดวันประกันพรุ่งจะทำให้งานค้างจำนวนมาก เป็นผลเสียในด้านการให้บริการ
  6. จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พอเพียง อย่างน้อยต้องมีอุปกรณ์สำนักงานครบ และที่ขาดไม่ได้คือ โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวในอาชีพนี้
 
1.รับงานที่มีความเสี่ยงสูง
บางคนรับงานทำบัญชีทุกราย โดยไม่เลือกว่ากิจการใดประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์หรือไม่ ช่วยเหลือลูกค้าเลี่ยงภาษีอากร บันทึกตัวเลขบัญชีโดยไม่มีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือลูกค้าจนเกินเหตุ ขาดจรรยาบรรณ ท่านอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีได้
 
2. ยักยอกเงินภาษี
บางรายให้บริการยื่นชำระภาษีแทนลูกค้า โดยรับเงินสดจากลูกค้าเพื่อไปยื่นแบบชำระภาษีให้สรรพากร แรก ๆ ก็ทำเป็นปกติ ต่อมาการเงินส่วนตัวมีปัญหา นำเงินภาษีที่รับมาจากลูกค้าไปหมุน แล้วนำส่งภาษีไม่ทันอีก เกิดการค้างมากขึ้น ๆ บางรายทำอย่างนี้กับลูกค้าทุกรายที่มี ได้เงินไปหลายแสน บางรายได้ไปนับล้าน จนต้องหนีหายตัวไป ผลเสียกตกกับลูกค้าที่ค้างส่งภาษี ทำให้เสียสถาบันวิชาชีพอย่างร้ายแรง
 
3.บริการแย่ลง
บางรายมีลูกค้าติดต่อมาว่าจ้างมากขึ้น ๆ ปริมาณงานที่รับมากเกินกว่าที่จะทำได้ทัน ไม่รีบเร่งแก้ปัญหา รับปากกับลูกค่าว่าจะเสร็จแล้ว ผลัดวันประกันพรุ่ง มีข้อผิดพลาดบ่อย ลืมนัด เลื่อนนัดเป็นประจำ ทำให้ลูกค้าต้องตีจากให้คนอื่นมาทำแทน
 
4. ขาดการเอาใจใส่
ขาดการดูแลเอาใจใส่ลูกค้า ปีหนึ่งลูกค้าได้เห็นหน้าเพียงครั้งเดียว หรือไม่ได้ไปพบลูกค้าเลยเป็นปี ๆ และบางรายปล่อยให้ลูกจ้างทำงาน โดยไม่ได้ติดตามผลงาน ถ้าลูกจ้างบริการไม่ดีผลเสียจะตกกับเรา บางรายมีลูกจ้างให้บริการดีเราก็ดีด้วย แต่บางทีลูกจ้างที่ดีลาออกไป ไม่ออกเปล่าแถมดึงลูกค้าเราติดไปด้วยอย่างนี้ก็มีเยอะ
 
5. ขาดการพัฒนาตนเอง
ไม่มีการติดตามข่าวสารภาษีอากร กฎหมาย กฎกระทรวง ที่ออกมาใหม่ เพื่อนำมาประกอบการใช้งาน จนทำให้การทำงานมีข้อผิดพลาด การศึกษาทางธุรกิจด้านอื่น ๆ ก็ต้องมีความรู้พอเท่าทันลูกค้าบ้างเหมือนกัน


ความภูมิใจในอาชีพนักบัญชี
 
1.เป็นอาชีพที่มีเกียรติ ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฎิบัติตน ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในวิชาชีพ ท่านจะได้รับเกียรติและการยอมรับจากลูกค้าและบุคคลทั่วไป
 
2. สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ถือว่ามีส่วนร่วมในสังคม เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล อันทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
 
3. ความมีเอกภาพ
นักบัญชีที่ดีต้องมีเอกภาพ มีอิสระที่จะปฎิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา ฝ่ายผู้ประกอบการต้องการเสียภาษีน้อย แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่สรรพากรต้องการเก็บภาษีให้ได้มาก ๆ เรานักบัญชีเป็นผู้อยู่ตรงกลาง ทำอย่างไรจึงจะให้ได้รับความพอใจทั้งสองฝ่าย และอยู่บนเงื่อนไขความ
ถูกต้องด้วย 

คุณสมบัตินักบัญชี



สรุปความเป็นมาของ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

สรุปความเป็นมาของ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
1. ความเป็นมาของการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย 
    กฎหมายว่าด้วยการบัญชีฉบับปัจจุบัน คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ได้ใช้ บังคับมาตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 27 ปี จึงมีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการ ที่ยังไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชี และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้า ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้เป็นไปตามความเป็นจริงได้มาตรฐาน การบัญชี และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล ซึ่งจะทำให้กิจการและบุคคลภายนอกได้ใช้ข้อมูลทางการ บัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการ บัญชีมาเป็นลำดับนับแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันกฎหมายดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบของ รัฐสภาแล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจะมีผลบังคับใชตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป สรุปการดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ได้ ดังนี้
    • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. .... และให้ส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาพิจารณา แต่โดยที่สภาฯ ได้สิ้นอายุ ลง ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงตกไป
    • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2537 เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการ รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจซึ่งเห็นควรรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติสภานักบัญชี พ.ศ. .... ในคราวประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 กระทรวงพาณิชย์ได้ขอถอนเรื่องนี้กลับไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดให้มีการประชุมชี้แจง และรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 เพื่อประกอบการพิจารณา เสนอแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
    • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 อนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ที่กระทรวงพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม และส่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว โดยได้ปรับปรุง แก้ไขถ้อยคำใหม่เล็กน้อย และกระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันให้นำเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอและให้ส่ง คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2541 รับทราบมติของคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อ พิจารณา โดยก่อนส่งสภาผู้แทนราษฎรให้แก้ไขมาตรา 5 วรรคสอง และเพิ่มมาตรา 27
2. สาระสำคัญของกฎหมาย
  1. แก้ไขหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ธุรกิจทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจ ตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องจัดทำบัญชี เป็นกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลทั้งที่จดทะเบียน ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ส่วนบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนจะต้องจัดทำบัญชีต่อเมื่อรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 
  2. กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจโดยแบ่งแยก หน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ชัดเจน กล่าวคือ 
      2.1 กำหนดความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในการจัดให้มีการทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชีเพื่อจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชีและยื่นงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบและให้ความเห็นของผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแล้ว รวมทั้ง จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด 2.2 ผู้ทำบัญชี (หมายถึงผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้ กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ ซึ่งได้แก่พนักงานบัญชีของบริษัท หรือ ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระหรือสำนักงานรับทำบัญชี) ต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามความจริงตามมาตรฐาน การบัญชี โดยมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนรายการให้ถูกต้องครบถ้วน 
  3. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชรวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มี หน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง 
  4. กำหนดยกเว้นให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่มี ทุน สินทรัพย์หรือรายได้ ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่ต้องได้รับตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี 
  5. ลดภาระของธุรกิจในการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีจาก 10 ปี เหลือ 5 ปีและในกรณีจำเป็น อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาจัดเก็บได้แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี 
  6. ปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระบบการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การเก็บรักษาบัญชีการลง รายการในบัญชี เป็นต้น 
  7. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสม ครอบคลุมถึงผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี และ ผู้ที่เกี่ยวข้องและให้ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้สำหรับความผิดที่มี โทษปรับเพียงอย่างเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน เพื่อลดขั้นตอนปฏิบัติและสะดวกต่อ ผู้ประกอบธุรกิจ 
  8. กำหนดบทเฉพาะกาล ยกเว้นให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นผู้ทำบัญชีอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดี กำหนด สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้หากได้ประกอบอาชีพอยู่ก่อนแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปโดยให้แจ้งต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมทั้งเข้าอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดก็จะสามารถ ทำบัญชีต่อไปได้อีก 8 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ 
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้คุณภาพของการจัดทำบัญชีของภาคธุรกิจมีมาตรฐานยิ่งขึ้น มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศโดยรวมและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลงบการเงิน 
  2. เป็นการยกมาตรฐานของนักบัญชีและให้นักบัญชีเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง 
  3. เป็นการลดภาระของภาคเอกชนลง และสอดคล้องกับระบบการจัดทำบัญชีของภาคธุรกิจ ที่พัฒนาไปตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
4. วิธีดำเนินการในการกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติต่าง ๆ
  • โดยที่ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 มีบทบัญญัติหลายมาตราที่มอบอำนาจให้รัฐมนตรีหรือ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไปออกกฎกระทรวงหรือประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อาทิ มาตรา 7, มาตรา 8, มาตรา 11, มาตรา 14 และมาตรา 40 เป็นต้น ในทางปฏิบัติการกำหนดหลักเกณฑ์ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี โดยแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณาดำเนินการประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้แทนจากสถาบันวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิทางด้าน บัญชีจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น จึงเป็นหลักประกันได้ว่าข้อกำหนดต่าง ๆ จะเป็นไปโดยรอบคอบ และสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติของวิชาชีพ 

คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนักบัญชี



- ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็ว และ มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบ ในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย ผู้ที่จะประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย และสำหรับพนักงานบัญชี ที่ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีในสถานประกอบการที่จดทะเบียนการค้า ต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 3 ปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีฯประกาศกำหนด



ที่มา: http://www.งานวันนี้.com

อาชีพนักบัญชี




ลักษณะงาน
ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห็รายการธุรกิจและบันทึกผลทางการเงิน การรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบบัญชี การวางแผนทางบัญชี และการวางระบบทางบัญชีแก่สถานประกอบการต่างๆ
คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ
ควรเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ , ซื่อสัตย์ , ละเอียด , ชอบการติดต่อประชาสัมพันธ์กับคนทั่วไป , รักความก้าวหน้า , มีความคิดริเริ่ม , มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหา , วิเคราะห็งานได้อย่างมีระบบ , ตัดสินใจเร็ว , มีความสนใจและตื่นตัวในเรื่องทั่วไปและก้าวหน้าทันโลก , เพราะงานที่เกี่ยวกับการบัญชี การพาณิชย์ในองค์การธุรกิจ เป็นงานที่ท้าทายและต้องแข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ , มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา , ถนัดในเรื่องของคณิตศาสตร์ พอสมควร เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เร็วและถูกต้อง
การศึกษาและการฝึกอบรม
เข้าศึกษาต่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี,คณะสังคมศาสตร์,หรือคณะบริหารธุรกิจ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
1. เป็นสมุห์บัญชี หรือตำแหน่งเกี่ยวกับบัญชีขององค์การธุรกิจ หรือองค์การรัฐบาล
2. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือแผนกการเงิน ในบริษัทเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ
3. ทำงานในธนาคาร บริษัทประกันภัย
4. ทำงานในองค์การรัฐบาลในหน้าที่ผู้บริหารการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
5. ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาติ
6. เป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ
สามารถพัฒนางานเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนได้ในโอกาสต่อไป หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกก็ได้