Trip Loei

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เส้นทางแห่งการก้าวขึ้นสู่การเป็นนักบัญชีอาชีพ

ผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติต้องดำเนินการอย่างไร
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ตามมาตรา 7(6) ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี และอธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 10 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ใครคือผู้ทำบัญชี
ผู้ทำบัญชีตามประกาศดังกล่าว ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้


กรณีที่เป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้ทำบัญชีคือ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี
- สำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ หัวหน้าสำนักงาน
- สำนักงานที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
- สำนักงานที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
บุคคลธรรมดา กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี กรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุ มาในข้างต้น
คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีที่กำหนด พิจารณาตามขนาดของธุรกิจและตามประเภทนิติบุคคล ดังนี้


กลุ่ม 1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชีใน
รอบปีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
และรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทางทบวงมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่า
อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
กลุ่ม 2 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุน
จดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใดรายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดใน
กลุ่ม 1 และธุรกิจที่มีความสำคัญ คือ บริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการ
ร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์
ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบัน
การศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวง
ศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น