Trip Loei

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เงินเดือนของนักบัญชี

ตลาดแรงงานต้องการอะไรจากนักบัญชี

หน้าที่ของนักบัญชี

นักบัญชีมีหน้าที่ทำอะไร
นักบัญชีมีหน้าที่เฉพาะด้าน  คือ
   1. การบัญชีทั่วไป  (Genneral Accounting)  ได้แก่  การ จดบันทึกรายการ การเตรียมรายงานการเงินและรายการอื่นๆ ที่จะให้ประโยชน์แก่ฝ่ายจัดการ เจ้าหนี้ เจ้าของ และองค์การรัฐบาล นักบัญชีจะเป็นผู้ควบคุมการลงบัญชีและจัดทำรายงาน
   2. การบัญชีต้นทุน  (Cost Accounting)  ได้แก่  การกำหนดและการควบคุมต้นทุนของสินค้าและบริการที่ผลิต  ผู้ ทำบัญชีต้นทุนจะต้องสามารถรวบรวมและชี้แจงต้นทุนสินค้าและบริการที่เกิดขึ้น จริงเพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายจัดการในการควบคุมและวางแผนต่อไป
   3. การบัญชีการเงิน  (Financial Accounting)  ได้แก่  การบันทึกรายการของธุรกิจในรอบระยะเวลาหนึ่งและสรุปผลในรูปรายงานการเงิน
   4. การบัญชีงบประมาณ  (Budgetary Accounting)  ได้แก่  การวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินงานการผลิตและการเงินไว้ล่วงหน้า
   5. การบัญชีจัดการ  (Management Accounting)  ได้แก่  การบัญชีที่เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลในอดีตและที่ประมาณขึ้น
   6. การบัญชีภาษี  (Tax Accounting)  นักบัญชีต้องมีความรู้ในด้านการคำนวณภาษี การเตรียม ภงด. และกฎหมายภาษี
   7. การวางระบบบัญชี  (Accounting System)
   8. การสอบบัญชี  (Auditing)
   9. การบัญชีกิจการมิได้มุ่งหวังกำไร  (Not-for-profit accounting) การบัญชีของกิจการประเภทนี้จะปฏิบัติตามขอกำหนดของกฎหมายและข้อปฏิบัติของสถาบัน


เรียนบัญชีดีอย่างไร?






เรียนบัญชี...ดีอย่างไร
          เป็นที่ทราบกันดีกว่านักบัญชีเป็นอาชีพหนึ่งที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในวงการธุรกิจปัจจุบัน เพราะบัญชีคือหัวใจสำคัญของธุรกิจในการจัดการข้อมูลทางการเงินให้เป็นหมวดหมู่ กระชับรัดกุม ง่ายต่อการนำไปใช้ บัณฑิตทางด้านวิชาการบัญชีจึงเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร โดยเฉพาะหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ในการสร้างบัณฑิตให้เป็นนักบัญชีที่มี

ความรอบรู้และเพียบพร้อมด้วยจริยธรรมในวิชาชีพ ด้วยหลักสูตรที่มีการพัฒนาให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีความสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ รู้จักประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงานบัญชีได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานบัญชีมากขึ้น
นักบัญชีเรียนอะไร
          การจัดการเรียนการสอนของคณะบัญชีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เป็นผู้สอนและให้คำแนะนำแก่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาตามความถนัดใน 5 แนวทาง คือ
  • ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เน้นการสอนเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี และการตรวจสอบระบบบัญชีโดยใช้คอมพิวเตอร์
  • การบัญชีภาษีอากร ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร การฝึกงานด้านภาษี
  • การสอบบัญชี ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการสอบบัญชี และการตรวจสอบภายใน
  • การบัญชีการเงิน ศึกษาเกี่ยวกับการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน การบัญชีเฉพาะกิจการ และการสัมมนาทางการเงินเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำงบการเงิน
  • การบัญชีบริหาร ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการสัมมนาการบัญชีบริหาร เพื่อให้เกิดความชำนาญในการคำนวณต้นทุนกำไร และนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการองค์กร
          นอกจากนี้นักศึกษาจะได้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติงานด้านวิชาชีพบัญชี อาทิ การตรวจสอบบัญชี การทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะก่อสำเร็จการศึกษาและเป็นบัญชีบัณฑิตที่มีคุณภาพ
โอกาสในการประกอบอาชีพ Career Opportunities
  • นักบัญชี Accountant
  • ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี Financial Controller
  • ผู้ตรวจสอบภายใน Internal Auditor
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต Certified Public Accountant (CPA)
  • ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี Tax Auditor (TA)
  • ผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต Certified Internal Auditor (CIA)
  • ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ Certified Information System Auditor (CISA)
  • ผู้ตรวจสอบด้านบริการการเงินรับอนุญาต Certified Financial Services Auditor (CFSA)
  • นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการบัญชี Accounting Information System Analyst
  • นักออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี Accounting Information System Designer
  • ที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี Accounting Information System Consultant
  • ที่ปรึกษาด้านบัญชี Accounting Advisor
  • ที่ปรึกษาด้านการเงิน Financial Advisor
  • ที่ปรึกษาด้านภาษีอากร Tax Consultant
  • คณะกรรมการตรวจสอบ Audit Committee
















ก้าวสู่เส้นทางการเป็นนักบัญชีมืออาชีพ



ผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติต้องดำเนินการอย่างไร
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ตามมาตรา 7(6) ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ ทำบัญชี และอธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 10 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ใครคือผู้ทำบัญชี
ผู้ทำบัญชีตามประกาศดังกล่าว ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
    * กรณีที่เป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
      ผู้ทำบัญชีคือ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียว กับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
    * กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี
      - สำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ หัวหน้าสำนักงาน
      - สำนักงานที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
      - สำนักงานที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
    * บุคคลธรรมดา กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
    * ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี กรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
        * บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุ มาในข้างต้น
คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีที่กำหนด พิจารณาตามขนาดของธุรกิจและตามประเภทนิติบุคคล ดังนี้
    * กลุ่ม 1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชีใน
      รอบปีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
      (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทางทบวงมหาวิทยาลัย
      คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่า
      อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
    * กลุ่ม 2 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใดรายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดใน
      กลุ่ม 1 และธุรกิจที่มีความสำคัญ คือ บริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
      ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี